สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาล
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลตำบลลวงเหนือ
สภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลลวงเหนือ อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอดอยสะเก็ดได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลลวงเหนือ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลตำบลลวงเหนือ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5)พ.ศ.2546 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2546 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และได้ปรับเป็นเทศบาลขนาดกลางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์
1.1 ที่ตั้ง ระยะห่างจากอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ 7 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
1. ทิศเหนือ ติดต่อเขตอำเภอพร้าว และอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
2. ทิศใต้ ติดต่อเขตอำเภอสันทราย เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่
3. ทิศตะวันออก ติดต่อเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
4. ทิศตะวันตก ติดต่อเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
1.2 เนื้อที่ ประมาณ 125 ตารางกิโลเมตร
1.3 ภูมิประเทศ เป็นที่ตั้งของเขื่อนแม่กวง เหมาะสำหรับฟื้นฟูเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พื้นดิน ส่วนใหญ่เป็นดินดำเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชสวนแต่บางแห่งเป็นลักษณะดินลูกรังไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร หมู่บ้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่เรียงรายที่ราบใต้เขื่อนแม่กวง-อุดมธารา
เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้านในเขต เทศบาลตำบลลวงเหนือ จำนวน 10 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านป่าสักงาม
หมู่ที่ 2 บ้านตลาดใหม่
หมู่ที่ 3 บ้านเมืองวะ
หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ
หมู่ที่ 5 บ้านลวงเหนือ
หมู่ที่ 6 บ้านสันทราย
หมู่ที่ 7 บ้านข้างน้ำ
หมู่ที่ 8 บ้านวังธาร
หมู่ที่ 9 บ้านใหม่ริมคลอง
หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งกอลาน
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพ
การประกอบอาชีพของประชากรในเขตเทศบาลตำบลลวงเหนือ มีดังนี้ อาชีพเกษตรกรรม อาชีพค้าขาย อาชีพรับราชการ อาชีพรับจ้างทั่วไป
2.2 หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลลวงเหนือ
- ห้องพัก/ห้องเช่า/รีสอร์ท 8 แห่ง
- สวนอาหาร 1 แห่ง
- ร้านขายของชำ 64 แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน 8 แห่ง
- โรงสีข้าว - แห่ง
- ร้านเสริมสวย 6 แห่ง
- ร้านขายยา 1 แห่ง
- ร้านซ่อมรถยนต์ 5 แห่ง
3. สภาพสังคม
3.1 ด้านสวัสดิการสังคม
ตำบลลวงเหนือ มีผู้ได้รับเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุงบประมาณเทศบาลตำบลลวงเหนือ จำนวน 948 ราย
ผู้ติดเชื้อเอดส์ได้รับงบประมาณจากจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 23 ราย
ผู้พิการงบประมาณเทศบาลตำบลลวงเหนือ จำนวน 115 ราย
3.2 รายงานสถิติประชากรและบ้านของตำบลลวงเหนือ
ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ถึง 10 มิถุนายน 2562
หมู่บ้าน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ตำบลลวงเหนือ
|
2,813
|
3,162
|
5,973
|
หมู่ที่ 1 ป่าสักงาม
|
162
|
158
|
320
|
หมู่ที่ 2 ตลาดใหม่
|
523
|
535
|
1,058
|
หมู่ที่ 3 เมืองวะ
|
191
|
209
|
400
|
หมู่ที่ 4 ลวงเหนือ
|
309
|
386
|
695
|
หมู่ที่ 5 ลวงเหนือ
|
455
|
523
|
978
|
หมู่ที่ 6 สันทราย
|
280
|
311
|
591
|
หมู่ 7 ข้างน้ำ
|
244
|
270
|
514
|
หมู่ที่ 8 วังธาร
|
265
|
288
|
553
|
หมู่ที่ 9 ใหม่ริมคลอง
|
236
|
307
|
543
|
หมู่ที่ 10 ทุ่งกอลาน
|
146
|
175
|
321
|
จำนวนครัวเรือนที่จัดเก็บทั้งสิ้น จำนวน 1,100 ครัวเรือน
จากครัวเรือนที่ฐานข้อมูลจากทะเบียนราษฎร จำนวน 3,068 ครัวเรือน
หมู่ 1 236 ครัวเรือน หมู่ 6 266 ครัวเรือน
หมู่ 2 661 ครัวเรือน หมู่ 7 268 ครัวเรือน
หมู่ 3 154 ครัวเรือน หมู่ 8 312 ครัวเรือน
หมู่ 4 323 ครัวเรือน หมู่ 9 286 ครัวเรือน
หมู่ 5 419 ครัวเรือน หมู่ 10 143 ครัวเรือน
3.3 ด้านกีฬา
สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 6
สนามกีฬาท้องถิ่น -
ลานกีฬาท้องถิ่น 8 แห่ง (หมู่ที่ 1, 2,3, 4, 5, 7 ,8 ,10)
ศูนย์กีฬาประจำตำบลลวงเหนือ 1 ศูนย์
3.4 สถาบันและองค์การทางศาสนา
- สำนักปฏิบัติธรรมสุทธจิต 1 แห่ง
- วัด 11 แห่ง
3.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ป้อมยามตำรวจ 1 แห่ง
4. บริการขั้นพื้นฐานและสาธารณูปโภค
4.1 การคมนาคม
ถนนภายในเขตรับผิดชอบเทศบาลตำบลลวงเหนือ
ถนนคอนกรีต
|
50
|
สาย
|
ระยะรวม
|
13,306
|
เมตร
|
ถนนลาดยาง
|
40
|
สาย
|
ระยะรวม
|
33,667
|
เมตร
|
ถนนหินคลุก
|
53
|
สาย
|
ระยะรวม
|
6,639
|
เมตร
|
ถนนดิน
|
31
|
สาย
|
ระยะรวม
|
11,017
|
เมตร
|
รวม
|
174
|
สาย
|
ระยะรวม
|
64,628
|
เมตร
|
มีถนน รพช. 1 สาย กรมโยธา 6 สาย ถนนชลประทาน 2 สาย เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านถนน คสม.และถนนหินคลุก
4.2 การโทรคมนาคม
- Free wifi จำนวน 12 จุด
4.3 การไฟฟ้า
- ไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านแต่ไม่ครบทุกหลังคาเรือน
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,ลำห้วย 11 สาย
- บึง หนองและอื่น ๆ 1 สาย
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 7 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 362 แห่ง
- บ่อโยก 17 แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง
- เขื่อน 2 แห่ง
- ประปา 9 แห่ง
-กระแสไฟฟ้าพลังน้ำ 1 แห่ง
5. ข้อมูลอื่น ๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- เขื่อน ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ ดินลูกรัง
|